วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อดีของ หลอดLED

ข้อดีของหลอดไฟ LED

ledandother

By Noppadon B.
พฤศจิกายน 2557


ข้อดีของหลอดไฟLED มีมากมายหลายด้านเมื่อเทียบกับหลอดไฟที่มีใช้ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือชนิดอื่นๆ

หลอดLED ให้แสงคุณภาพสูง

หลอดไฟledให้แสงสีขาวที่แท้จริง มีอัตราการกระพริบที่สูงมาก (แทบจะไม่มีการกระพริบ) และมีค่าอุณหภูมิสีได้ตั้งแต่ 3000K-6500K แสงจึงออกมาเป็นธรรมชาติ สบายตา ถนอมสายตา เหมาะสำหรับงานแสงสว่างทั่วไป และงานที่ต้องการแสงคุณภาพสูง

มีอายุการใช้งานนานกว่า

ข้อมูลจากการทดสอบของผู้ผลิตหลอดยืนยัน ว่าการใช้งานอย่างถูกวิธีและเหมาะสม สามารถที่จะทำให้ หลอดLED มีอายุใช้งานได้ถึง 60,000 ชั่วโมง โดยความสว่างไม่ลดลง เมื่อเทียบกับหลอดไส้ ที่มีอายุการใช้งานเพียงแค่ 1,000 ชั่วโมง หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีอายุการใช้งานประมาณ 10,000 ชั่วโมง เท่านั้น ถือว่า หลอดled มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ามาก

หลอดLED ทนต่อแรงกระแทก สั่นสะเทือน และทนการกัดกร่อนได้ดี

สามารถใช้หลอดLED ได้ในสภาพแวดล้อมไม่ดีหรือเลวร้าย เช่น สภาพที่มีการเคลื่อนไหวหรือสั่นมากๆ หรือสภาพที่มีภาวะที่มีการกัดกร่อนสูงได้ดี แต่ถ้าเป็นหลอดอย่างอื่นอาจจะมีความเสียหายง่ายและใช้งานด้วยข้อจำกัดที่มากกว่า

ประหยัดค่าไฟ

ปัจจุบัน หลอด LED สามารถให้ค่าอัตราความสว่างได้ถึง 100-130 ลูเมนต์/วัตต์ ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต เมื่อเทียบกับหลอดไส้ ที่ให้ค่าอัตราความสว่างอยู่ที่ 12-15 ลูเมนต์/วัตต์ ส่วนหลอดฟลูออเรสเซนต์ ก็ให้ค่าอัตราความสว่างได้ที่ 40-80 ลูเมนต์/วัตต์
และมีแนวโน้มว่า ด้วยเทคโนโลยีที่ีถูกคิดค้นขึ้นใหม่และการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต LED จะสามารถให้ความสว่างต่อวัตต์เพิ่มขึ้นหรือประสิทธิภาพสูงขึ้นได้อีก (โดยล่าสุดมีสถิติบันทึกไว้ว่า มีผู้คิดค้น led ที่ให้แสงสว่างได้สูงถึง 300 ลูเมนต์/วัตต์)

กราฟแสดงปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าของหลอด LED

กราฟแสดงปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าของหลอด LED, หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดฮาโลเจน


หลอดLED ติดตั้งได้ในพื้นที่แคบและจำกัด และใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ติดไฟได้

เพราะหลอด led สามารถอบรรจุยู่ในดวงโคมสภาพมิดชิดได้โดยมีความหนาน้อยกว่า(บางกว่า) และไม่มีประกายไฟเกิดขึ้นในขณะใช้งานหรือตอนเปิดปิด ดังนั้นแม้ในสภาพแวดล้อมเลวร้าย เช่น สภาวะติดไฟง่ายหรือระเบิดง่ายก็สามารถใช้หลอด led ได้

หลอดLED ไม่เป็นอันตราย

ไม่มีสารปรอท สารพิษ หรือใช้โลหะหนักเป็นส่วนประกอบดังนั้นหลอดledจึงไม่เป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

หลอดLED มีการบำรุงรักษาต่ำ

เนื่องจาก หลอดLED อยู่ในสภาพมิดชิด และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า หลอดled จึงไม่ต้องการ การบำรุงรักษาอะไร

หลอดLED ใช้งานในที่เย็นจัดได้

หลอดไฟled สามารถใช้งานในที่เย็นจัดได้ถึง -40 C โดยไม่ต้องมีการอุ่นไส้ และยังสามารถที่จะเปิดติดได้ทันที

หลอดLEDไม่มีรังสี UV

ไม่เป็นอันตราย ไม่มีรังสีอัลตราไวโอเลตหรือUV ที่มีผลเสียต่อผิวหนังและสายตาของมนุษย์ และยังไม่มีรังสีอินฟราเรด หรือรังสีอื่นๆใด ที่เป็นอันตรายอีกด้วย

หลอดLED ใช้พลังงานคุ้มค่า ลดภาวะโลกร้อน

เพราะว่าพลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งในการผลิตก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจก
และในการเลือกใช้หลอดไฟLED อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงาน ลดแก๊สเรือนกระจกและก๊าซพิษได้เป็นเท่าตัว อาคารที่ใช้หลอดled ก็มีความร้อนน้อยลง จึงช่วยประหยัดค่าแอร์ได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนั้น การเปลี่ยนมาใช้หลอดled ซึ่งใช้พลังงานน้อยลงให้ผลทางตรงเรื่องค่าไฟแล้ว ยังมีส่วนช่วยโลกช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงาน แล้วยังให้ผลทางอ้อมคือทำให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาสาธารณะชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

หลอดLED ให้แสงในทิศทางตรง ลดข้อจำกัดปฏิวัติวงการออกแบบ

การที่หลอดไฟled ให้แสงในทางตรงนั้นทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้รีเฟล็กซ์เตอร์ ในการบังคับทิศทางแสงและในส่วนมาก รีเฟล็กซ์เตอร์ก็มีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของหลอดไฟต่ำลงไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพต่ำกว่า 40 เปอร์เซนต์ แต่ หลอดLED นั้นให้แสงในทิศทางไปข้างหน้าตรงๆ ไม่จำเป็นต้องมีรีเฟล็กซ์เตอร์ก็ได้ จึงทำให้หลอดไฟมีประสิทธิภาพสูงไม่ถูกลดทอนโดยรีเฟล็กเตอร์

และการที่ หลอดled ไม่จำเป็นต้องมีรีเฟล็กซ์เตอร์นั้นทำให้ขนาดโดยรวมของหลอดไฟมีขนาดบางลงมาก เท่ากับเป็นการลดข้อจำกัดในการออกแบบ ทำให้นักออกแบบหรือดีไซน์เนอร์สามารถที่จะออกแบบรูปทรงหลอดไฟได้ง่ายขึ้น นั่นก็เท่ากับทำให้รูปแบบหรือดีไซน์ของหลอดไฟเปลี่ยนไปอย่างไร้ข้อจำกัด ทำให้เห็นหลอดไฟมีดีไซน์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมามากมาย ผลที่ตามมาคือการปฏิวัติวงการออกแบบตกแต่งภายในและหน้าตาภายนอกของยานพาหนะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาคาร สถานที่ รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน อากาศยาน เรือ ฯลฯ ล้วนมีหน้าตาที่ทันสมัยขึ้นจากการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟled


หลอดไฟทั่วไป ที่มีรีเฟล็กเตอร์

หลอดไฟทั่วไป ที่มีรีเฟล็กเตอร์



หลอดLED ที่ให้แสงทิศทางตรง

หลอดLED ที่ให้แสงทิศทางตรง



หลอดLED คือ อนาคต ledfuture

นอกจากหลอดไฟledจะลดข้อจำกัดในการออกแบบทำให้สิ่งของต่างๆมีหน้าที่สวยงาม ดูทันสมัยและล้ำหน้า ล้ำอนาคตแล้ว รัฐบาลของทุกประเทศทั่วโลกและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องพลังงาน ปัญหาโลกร้อน ปัญหาขยะสารพิษ และปัญหามลภาวะ มากขึ้น ดังนั้นการใช้ หลอด LED ทดแทนหลอดไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นอีกหนหนึ่งที่จำเป็นที่ทุกๆ ประเทศนำไปพิจารณาในการลดการใช้พลังงาน เห็นได้จากข้อมูลสื่อทั่วๆไป

และโดยล่าสุดองค์กรที่มีชื่ออย่างโนเบล ได้มอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี2014 ให้กับ 3 นักวิทยาศาสตร์ ชาวญี่ปุ่น ผู้คิดค้น led แสงสีน้ำเงิน และโนเบลยังประกาศด้วยว่า LED คือแสงสว่างใน ศตวรรษที่ 21



หากอ่านแล้วเห็นว่าบทความเนื้อหามีประโยชน์ กรุณา กดlike กดแชร์ ด้านล่าง

 


บทความที่เกี่ยวข้อง: LEDคืออะไร?, หลอด LED ดีอย่างไร | หลอดไฟled เปรียบเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่น ดีกว่ายังไง | ความรู้เกี่ยวกับLED- รู้ไว้ไม่โดนหลอก | ค่าความเข้มของแสงสว่าง ในสถานที่ทำงาน


ที่มา:  https://www.klcbright.com/ledbenefit.php



วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ ความจำเป็นหรืออันตราย

ไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ ความจำเป็นหรืออันตราย


Energy Saving

ไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมาก สำหรับรถยนต์ทุกคันที่ต้องการความสว่าง ในการมองเห็นขณะขับรถในเวลากลางคืน มากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็น การจำเป็นต้องออกนอกเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวแนวผจญภัย offroad การทำกิจกรรมนอกสถานที่ เช่นการออกค่ายแจกสิ่งของในท้องที่ทุรกันดาร ภารกิจกู้ภัย หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งอาจจะรวมไปถึง เวลาที่เราขับรถ ตอนกลางคืนในบริเวณที่มีหมอกลงจัด ซึ่งจะทำให้ทัศนวิสัยในการมองใกล้มาก เมื่อใช้เพียงไฟหน้าแบบธรรมดา


ไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เราสามรถมองเห็นได้ดีขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ หากกรณีอย่างนี้ไม่ได้มีการติดตั้งไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือการหลุดออกนอกเส้นทาง หรือการมองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้าว่ามีการก่อสร้างหรือเส้นทางชำรุด แม้กระทั่งการติดตั้งไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ ที่ไม่ได้คุณภาพหรือแสงสว่างไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ผู้ขับขี่เจอปัญหาเดียวกันนี้ได้


แต่ทั้งนี้เมื่อมีการติดตั้ง ไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ แล้ว ผู้ขับขี่ก็ต้องพึงเข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อรถคันอื่นด้วย การเปิด ไฟสปอร์ตไลท์ ต้องเปิดเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ และต้องไม่เปิดขณะขับขี่บนเส้นทางปกติที่มีรถคันอื่นวิ่งสวนมาหรือวิ่งอยู่ข้างหน้า เพราะแสงจากไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ ที่มีความสว่างมาก จะทำให้รถที่ขับสวนมาหรือรถคันข้างหน้าเกิดตาพล่ามัว ทำให้สูญความสามารถในการมองเห็นไปชั่วขณะ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งเป็นตรายอย่างมาก


ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีความจำเป็นต้องติดตั้ง ไฟสปอร์ตไลท์รถยนต์ แล้วควรจะต้องหาที่ครอบไฟมาครอบไว้อยู่ตลอดเวลาสำหรับการเดินทางทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเปิดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ แต่ถ้าเป็นการขับขี่แบบเฉพาะกิจกรรม เช่น การแข่งขันแบบ offroad ในเวลากลางคืน, การเดินทางข้ามห้วยขึ้นดอยเพื่อแจกสิ่งของจำเป็น, การกู้ภัย, การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยในป่าลึก การเปิด ไฟสปอร์ตไลท์ ย่อมจะมีประโยชน์และช่วยท่านได้ อันนี้คงไม่มีใครว่าท่าน..





บทความที่เกี่ยวข้อง: LEDคืออะไร? | หลอด LED ดีอย่างไร | หลอดไฟled เปรียบเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่น ดีกว่ายังไง | ความรู้เกี่ยวกับLED- รู้ไว้ไม่โดนหลอก | ค่าความเข้มของแสงสว่าง ในสถานที่ทำงาน


ที่มา : www.klcbright.com

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

LED คืออะไร?

what is LED?

LED คือ อะไร?

By Noppadon B.
พฤศจิกายน 2557


ประวัติความเป็นมาของ LED


LED หรือ หลอดLEDนั้นมีมานานแล้ว เริ่มปรากฎในแผงวงจรครั้งแรกเมื่อปี 1962 ซึ่งโดยช่วงแรกๆนั้น LED ให้ความเข้มแสงไม่มากนักและมีใช้ในเฉพาะความถี่ในช่วงแสง infra-red ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้(ซึ่งเรายังคงเห็นรูปแบบการใช้งานในช่วงแสง infra-red นี้ตามอุปกรณ์ประเภทรีโมทคอนโทรลในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจนปัจจุบัน) ต่อมา LED ถูกพัฒนาให้สามารถเปล่งแสงที่มองเห็นได้โดยแสงสีแดงเป็นสีแรกถูกคิดค้นขึ้นได้ก่อนแต่ทว่าช่วงเริ่มต้นนั้นก็ยังมีความเข้มแสงต่ำอยู่ยังนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก

นักวิทยาศาตร์และนักวิจัยก็พัฒนา LED เรื่อยมาจนกระทั่งสามารถให้สร้าง LED ที่มีแสงครอบคลุมย่านความถี่ตั้งแต่ infrared คือแสงที่มองห็นได้ (visible light)ไปจนถึงย่าน ultra violet หรือ UV ที่มองไม่เห็น ต่อจากนั้นไม่นาน LED ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ไฟแสดงตามแผงควบคุมเพื่อบอกสัญญาณ และใช้ในไฟแสดงตัวเลข seven segment และนาฬิกาดิจิตอล ต่อมา LED ก็ถูกพัฒนาขึ้นอีก ให้ประสิทธิภาพด้านให้ความเข้มแสงหรือความสว่างมากขึ้น จนสามารถนำเอา LED มาใช้งานในการแสดงสัญญาณ ไฟสัญญาณสำหรับการบิน ไฟสัญญาณจราจร และด้วยเหตุผลที่LED มีข้อดีในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านประหยัดพลังงาน ด้านการใช้งานได้นานขึ้น มีการบำรุงรักษาที่ต่ำ ความทนของตัวหลอดเอง และขนาดก็เล็กมากเมื่อเทียบกับหลอดไส้อย่างเดิม ทั้งยังปิดเปิดควบคุมง่ายขึ้นแล้ว นักวิจัยและบริษัทต่างๆจึงมุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงหรือความสว่างให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อหวังที่จะนำเอา LED มาใช้เป็นไฟฟ้าแสงสว่างในชีวิตประจำวันเพื่อทดแทนหลอดไฟแบบที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะนั้นก็ติดปัญหาเรื่องการทำให้ LED มีแสงสีขาวเหมือนหลอดไฟทั่วไปไม่ได้

ผ่านมาเกือบ 30 ปีจนกระทั่งในปี 1990 นักวิทยาศาตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนได้ร่วมกันพัฒนาจนสามารถทำให้ LED เปล่งแสงสีน้ำเงินได้ซึ่งต่อมาก็คือพื้นฐานของแสงสีขาวได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาภายหลังนักวิทยาศาตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนทั้งนี้ได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2014 ในฐานะเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ทำให้เกิดการปฏิวัติด้านไฟฟ้าแสงสว่างและการใช้พลังงานทั้งโลกศตวรรษที่ 21

LED ในปัจจุบันและอนาคต


ในปัจจุบันหลอด LED เริ่มถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไปหรือไฟแสงสว่างรถยนต์ แต่ก็ยังติดปัญหาด้านต้นทุนการผลิตอยู่ (ในขณะนั้น) แต่ในอนาคตอีกไม่นานเมื่อต้นทุนในการผลิตหลอดไฟLEDต่ำลงเรื่อยๆ หลอดไฟLED จะถูกนำมาทดแทนหลอดไฟในปัจจุบัน ไม่ต่างจากการเข้ามาของฟลูออเรสเซนต์ เพื่อมาทดแทนหลอดไส้เหมือนช่วง30ปีที่ผ่านมา (ปัจจุบัน 2562 เกิดขึ้นแล้ว)

หลักการทำงานของ LED


เมื่อ LED กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการเข้าใจและรู้หลักการทำงาน LED จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเรา

LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode

  • L-Light แสง
  • E-Emitting เปล่งประกาย
  • D-Diodeไดโอด

แปลรวมกัน ก็คือ ไดโอดชนิดเปล่งแสง

ไดโอด (Diode) คือ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ (Semi Conductor Device) ที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทางเดียว ไดโอดเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญในวงจรไฟฟ้า มีใช้อยู่ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้าเพื่อทำหน้าที่บังคับทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า ไดโอดโดยทั่วไปแล้วไม่เปล่งแสงออกมา มีสัญลักษณ์ทางวงจรคือ สัญลักษณ์ไดโอด ส่วนไดโอดที่เปล่งแสงหรือ LED มีสัญลักษณ์ทางวงจรคือ สัญลักษณ์ LEDต่างกันนิดหน่อยตรงที่ไม่มีลูกศรแสดงการเปล่งแสงกับไม่มี

ประเภทของ LED

LED จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
  • 1.LED แบบดั้งเดิม

  • กำลังวัตต์น้อย ขนาดหรือรูปร่างหรือสีขึ้นอยู่กับพลาสติกที่ใช้ทำเปลือกหุ้มใช้ทำไฟสัญลักษณ์ในวงจร

    ตัวอย่าง LED

    LED แบบดั้งเดิม



  • 2.LED ขนาดเล็กมาก

  • ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมเม็ด LED ติดลงไปกับแผงวงจรหรือที่เรียกว่า Surface Mounting Technology (SMT) ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการประกอบชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคและsemi-conductorขนาดเล็ก ในบางครั้งก็เรียก LED ชนิดนี้ว่า Surface Mounting Device LED หรือ SMD LED

    SMD LED

    LED ขนาดเล็กมากหรือ SMD LED



  • 3.LED กำลังสูง

  • LED กำลังสูง หรือ Hi-power LED เป็น LED ชนิดที่ให้กำลังสูง ให้ความสว่างมาก ต้องการกระแสขับสูงถึง 100mA บางรุ่นอาจต้องการกระแสขับถึง 1A ดังนั้นการระบายความร้อนสำหรับ LED ชนิดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าระบายความร้อนไม่ดีอาจจะทำให้พังหรือเสียในภายในไม่กี่วินาที
    LED ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้ทำอุปกรณ์ให้แสงสว่างหรือจะเข้ามาทดแทนหลอดไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

    Hi-power LED
    Hi Power LED

    LED กำลังสูง หรือ Hi-power LED



การต่อวงจร

(ลงในรายละเอียดนิดนึง อ่านข้ามได้)
ด้วยภายในไดโอดเปล่งแสงหรือ LED มีค่าความต้านทานอยู่ค่าหนึ่ง(Rd) จะทำให้แสงเปล่งออกมาได้ต้องมีกระแส (I) ไหลผ่านที่มากพอแต่ต้องไม่มากจนเกินไป การควบคุมกระไหลผ่าน LED ให้พอดี เราจึงจำเป็นต้องทราบคุณสมบัติที่สำคัญ 2 อย่างของ LED คือ
  1. แรงดันตกคร่อมเมื่อมีกระแสไหลผ่าน (Forword Valtage:Vf)
  2. กระแสที่ LED ต้องการ (Imax)

ส่วนสิ่งที่เราต้องคำนวณหาคือ R ภายนอกที่มาต่อเพิ่ม เพื่อจำกัดกระแส และแรงดันสำหรับจ่ายไฟซึ่งเราทราบอยู่แล้ว
วิธีการหาค่า R ใช้สูตรง่ายๆ กฏของโอห์ม
V=IR
V=(Vdc-Vf)
ดังนั้น R=(Vdc-Vf)/I โอห์ม

การต่อวงจรของ LED ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงจ่ายไฟบวกกระแสตรงเข้าที่ขา อาร์โนด (Anode) หรือขาที่ยาวกว่า และต่อไฟลบเข้ากับขา แคโธด(Cathode)หรือขาสั้น และต่ออนุกรมวงจรด้วย R ภายนอกที่เราคำนวณมาได้ ดังรูปข้างล่าง
วงจรการต่อ LED

วงจรการต่อ LED



ตัวต้านทานหรือ R ภายนอกที่นำมาใช้จำกัดกระแส เมื่อมีกระแสไหลผ่านก็มีความร้อนเกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบหลอดไฟ LED อีกอย่างหนึ่งคือการระบายความร้อน และการเลือกตัวต้านทานหรือ R ที่ทนความร้อนได้ดี
ตัวอย่าง R เพื่อจำกัดกระแสผ่าน LED

ตัวอย่าง R เพื่อจำกัดกระแสผ่าน LED



การระบายความร้อน

โดยหลักการแล้วในไดโอดเปล่งแสงหรือ LED แบบทั่วๆไปจะเปล่งแสงโดยมีความร้อนเกิดขึ้นน้อยมากจนเราสามรถใช้มือเปล่าสัมผัสได้ แต่ใน Hi Power LED หรือ LED กำลังสูง ที่ให้แสงสว่างมากๆ มีความร้อนเกิดขึ้นมาก การออกแบบระบบระบายความร้อนจึงมีความสำคัญ อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องใส่เพิ่มเข้ามาในระบบคือแผงระบายความร้อนหรือที่เรียกว่าฮีทซิงค์ (Heat Sink) ส่วนใหญ่ทำมาจาก อลูมิเนียมซึ่งมีคุณสมบัติคือ หลอมขึ้นรูปได้ง่าย น้ำหนักเบา และพาความร้อนได้ดี

heat sinks

Heat sink แบบต่างๆ


ทั้งนี้ การออกแบบฮีทซิงค์ นอกจากจะคำนึงถึงการระบายความร้อนแล้ว ยังต้องคำนึงถึง ให้รูปทรงเป็นตามลักษณะของหลอดไฟอีกด้วย การออกแบบระบบระบายความร้อนที่ดี จะช่วยให้อายุการใช้งานของ หลอดไฟLED แต่ในทางตรงกันข้ามการออกแบบ heat sink ที่ไม่ดีย่อมทำให้ความร้อนสะสมในหลอด LED มาก ผลก็คืออายุของ LED จะสั้นลงและไม่เป็นไปตามผู้ผลิตกำหนดไว้นั่นเอง



หากอ่านแล้วเห็นว่าบทความเนื้อหามีประโยชน์ กรุณา กดlike กดแชร์ ด้านล่าง

 


บทความที่เกี่ยวข้อง: LED คืออะไร?, หลอด LED ดีอย่างไร | หลอดไฟled เปรียบเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่น ดีกว่ายังไง | ความรู้เกี่ยวกับLED- รู้ไว้ไม่โดนหลอก | ค่าความเข้มของแสงสว่าง ในสถานที่ทำงาน
 


เลือกซื้อสินค้า สินค้าไฟLED
 


"ช่วยกันทำให้โลกสว่างไสว และรักษ์โลกด้วยไฟLED"
 

ที่มา: https://www.klcbright.com/LEDis.php



วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558